การใช้งานบนระบบปฏิบัติการ Android 1.หน้าจอหลักของโปรแกรม ประกอบด้วย 
หมายเลข 1 ปุ่มแสดงเมนู เมื่อแตะปุ่มนี้จะปรากฏแถบเมนูสีขาว ซึ่งแถบเครื่องมือจะเปลี่ยนแปลงไปตามหน้าจอที่แสดงผลอยู่ขณะนั้น หมายเลข 2 ปุ่มสัญลักษณ์รูปบ้าน เมื่อแตะปุ่มนี้จะกลับสู่หน้าแรกของจอแสดงผลของเครื่องโทรศัพท์ หมายเลข 3 ปุ่มย้อนกลับ เมื่อแตะปุ่มนี้ จอแแสดงข้อมูลจะย้อนกลับไปยังหน้าก่อนหน้า หมายเลข 4 ปุ่มเกี่ยวกับโปรแกรม เมื่อแตะปุ่มนี้จะปรากฎข้อมูล ความเป็นมาเกี่ยวกับโปรแกรมค้นหาและเทียบเคียงพุทธวจนในพระไตรปิฎก หมายเลข 5 ปุ่มขอบเขตของโปรแกรมค้นหาและเทียบเคียงพุทธวจนในพระไตรปิฎก หมายเลข 6 บอกชื่อโปรแกรม พระไตรปิฎกเล่มที่ ภาษาที่เลือกอ่าน หมายเลข 7 หมวดของพระไตรปิฎกที่ต้องการเลือก ซึ่งเลือกโดยการเลื่อนไปมาให้หมวดที่เลือกอยู่ตรงกลางจอ หมายเลข 8 ปุ่มแสดงเล่มที่ เมื่อเลือกหมวดเสร็จแล้ว ก็เลือกเล่มที่จะอ่านในพระไตรปิฎกหมวดนั้น โดยการเลื่อนไปมาเพื่อเลือกเลขที่เลือกให้เป็นสีเขียว หมายเลข 9 ปุ่มเลือกภาษาไทย หมายเลข 10 ปุ่มเลือกภาษบาลี หมายเลข 11 ปุ่มอ่าน เมื่อเลือกภาษาแล้วแตะปุ่มอ่าน ก็จะปรากฎหน้าจอดังรูปด้านล่าง ซึ่งประกอบไปด้วยปุ่มต่างๆ ดังนี้

ตัวอักษร A ปุ่มเลือกหน้าที่ต้องการอ่าน ตัวอักษร B ปุ่มแสดงเลขที่หน้าที่กำลังเปิดอยู่ ตัวอักษร C ปุ่มแสดงข้อทั้งหมดในหน้าที่กำลังเปิดอยู่ ตัวอักษร D ปุ่มย่อขยายตัวอักษรหน้าจอ ตัวอักษร E ปุ่มเลื่อกดูหน้า ก่อนหน้าและหน้าถัดไป นอกจากนี้ยังมีแถบเครื่องมือในหน้าจออ่านที่ซ่อนอยู่อีก การแตะปุ่มหมายเลข 1 จะทำให้เมนูปรากฎ ดังรูปด้านล่าง แต่ละปุ่มมีหน้าที่ ดังนี้

ตัวอักษร ก ปุ่มอ่านหน้าที่ เมื่อแตะปุ่มนี้จะปรากฎหน้าจอให้เลือกหน้าที่ต้องการอ่านในหมวดนั้น แตะที่ช่องดังรูป (จอจะปรากฎแป้นพิมพ์) ให้กรอกเลขหน้าที่จะอ่าน

ตัวอักษร ข ปุ่มอ่านข้อที่ เมื่อแตะปุ่มนี้จะปรากฎหน้าจอให้เลือกข้อที่ต้องการอ่านในหมวดนั้น ให้กรอกตัวเลขที่จะอ่าน เช่นเดียวกับปุ่มอ่านหน้าที่ ตัวอักษร ค ปุ่มเทียบเคียง เมื่อแตะปุ่มนี้จะปรากฎข้อพระสูตรในหน้าที่กำลังเปิดอยู่ให้เลือกเพื่อเทียบเคียงภาษาระหว่าง ภาษาไทยกับภาษาบาลี 
ตัวอักษร ง ปุ่มเปลี่ยนภาษา แตะที่ปุ่มนี้จะสลับระหว่างภาษาไทยกับภาษาบาลีในหน้าล่าสุดที่เปิดอ่าน ตัวอักษร จ ปุ่มจดจำ เมื่อแตะปุ่มนี้จะปรากฎข้อในหน้าที่กำลังเปิดอยู่ให้เลือกบันทึก หลังจากนั้นจะปรากฎช่อง แตะที่ช่องจะมีแป้นพิมพ์ปรากฎ ให้บันทึกข้อความลงไป แล้วแตะปุ่มบันทึก

หมายเลข 12ปุ่มดูรายการจดจำ คือ ปุ่มที่เรียกดูรายการที่ได้จดบันทึกไว้แล้ว ซึ่งจะแยกข้อมูลตามลักษณะภาษา สามารถแตะเลือก ภาษาด้านบนแล้วสามารถแตะที่ข้อนั้นเพื่ออ่านอีกครั้ง

หมายเลข 13 ปุ่มข้อมูลส่วนตัว เมื่อแตะปุ่มจะปรากฎหน้าจอข้อมูลส่วนตัว สามารถนำเข้าหรือส่งออกข้อมูล รายการบันทึกและประวัติการค้นหาไว้ใน SD การ์ดได้

หมายเลข 14 ปุ่มค้นหา เมื่อแตะปุ่มนี้จะแสดงหน้าจอค้นหา ซึ่งมีวิธีการใช้งานดังนี้ พิมพ์ข้อความที่ต้องการค้นหาลงไปในช่องและเลือกภาษาที่ต้องการค้นหา แล้วแตะปุ่มค้นหาก็จะปรากฎหน้าจอให้เลือกหมวดพระไตรปิฎก
ที่ต้องการค้น แตะปุ่มหมวดที่ต้องการค้นให้เป็นเครื่องหมายถูกสีเขียวแล้วแตะปุ่มตกลง ก็จะปรากฎหน้าจอข้อมูลทั้งหมดที่มีคำที่ค้นหา (อธิบายเกี่ยวกับหน้าจอแสดงผลการค้นหาเพิ่มเติมด้านล่าง) นอกจากนี้หน้าจอจะแสดงประวัติการค้นหาที่เคยค้นหาทั้งหมดด้วย ซึ่งสามารถเรียงลำดับประวัติการค้นหาโดยการแตะปุ่มหมายเลข 1เมื่อแตะปุ่มรายการประวัติค้นหาค้างไว้ จะปรากฎข้อความบอกจำนวนครั้งการเรียกดู และปุ่มลบข้อความนั้น
หน้าจอแสดงข้อมูลค้นหา จอจะปรากฎ หมวดของไตรปิฎกให้เลือก จะบอกจำนวนหน้าและจำนวนพระสูตรที่ปรากฎในเรื่องที่ค้นหาสามารถแตะปุ่มเลือกข้อที่ต้องการศึกษาเพื่ออ่าน แต่หากแตะปุ่มค้างไว้ก็จะปรากฎข้อความขวามือดังรูปข้างบน ประกอบไปด้วยปุ่มดังนี้ - ยังไม่ได้อ่าน คือ ให้เครื่องจำไว้ว่าพระสูตรข้อนี้ยังไม่ได้อ่าน - ยังไม่ได้อ่านทั้งหมด คือ ให้เครื่องจำไว้ว่าพระสูตรทั้งหมดในหน้านี้ยังไม่ได้อ่าน - จดจำ คือ เป็นการบันทึกพระสูตรข้อนี้ไว้ เมื่อแตะปุ่มนี้จะปรากฏหน้าจอให้บันทึกข้อความเพื่อจำลงไป - ลบรายการจดจำ คือ ลบรายการที่จดบันทึกไว้ - ติดดาว คือ การทำเครื่องหมายสัญลักษณ์รูปดาวหลังพระสูตรข้อนั้น เพื่อง่ายต่อการเรียกอ่าน เมื่อแตะปุ่มเมนูหมายเลข 1 จะปรากฎเมนูแถบสีขาว โดยมีเครื่องมือดังนี้
- ปุ่มขยายและย่อข้อความ - ปุ่มไปที่ตำแหน่ง คือ เมื่อแตะปุ่มนี้จะปรากฎหน้าจอให้ไปที่ผลลัพธ์ ตำแหน่งที่ต้องการอ่านจึงกรอกหมายเลขตำแหน่งที่ต้องการอ่านลงไป โปรแกรมจะค้นหาตำแหน่งภายในหน้าที่กำลังเปิดอยู่ - ปุ่มดูรายการจดจำ คือ ปุ่มที่เรียกดูรายการที่ได้บันทึกไว้แล้ว
ที่มา: http://etipitaka.com/howto/android
|