- สำคัญ
- 0
- UID
- 202
- สิทธิ์อ่าน
- 90
- เครดิต
- 13328
- โพสต์
- 3759
- ลงทะเบียน
- 29-10-2011
- ล่าสุด
- 9-10-2020
 
- บล็อก
- 0
- สตางค์
- 5966
- ความดี
- 3599
- ชื่อเสียง
- 2
- ล่าสุด
- 9-10-2020
|
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย คมสัน เมื่อ 27-9-2016 20:44
crème ตอบกลับเมื่อ 26-9-2016 01:15 
แล้วถ้าอย่างเนื้อความบางส่วน ในพระสูตรนี้ล่ะคะ เรา ...
ผมมีความเห็นว่า
๑. อนาคามี มี ๕ ระดับ และ ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ ได้แล้ว
(ปรากฏใน สังคีติสูตร และยังมีพระสูตรที่ยืนยันโดยพระอานนท์ คือ สิริวัฑฒสูตร)
๒. การที่ละ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้ก่อนแล้ว
แต่น้อมใจไปในเนวสัญญาฯ(ที่เป็นสมาธิระดับพิเศษ-ความเห็นส่วนตัว) จึงไปได้ เนวสัญญาฯภพ ก่อน
พอจุติจากที่นั้น จึงเป็นอนาคามี กลับไปสู่สุทธาวาส
(เป็นภพของอนาคามีเท่านั้นเพราะด้วยคุณสมบัติ เป็นผู้ได้สมาธิอย่างชำนาญ และ เห็นอริยสัจ)
********************************************************************
ขออธิบายตามความเห็นตนเองที่พอจะเข้าใจนะครับ
บุคคลบางคนในโลก(มนุษย์) นี้ ละสังโยชน์ ๕ ประการได้แล้ว
หากไปอุบติที่สุทธาวาส ควรเรียก อนาคามี
แต่ กรณีนี้ไปอุบัติที่ชั้นเนวสัญญาฯก่อน
จึงยังไม่ได้ตรัสเรียกอนาคามี ในขณะนี้
โดยสังเกตจากการที่พระองค์ตรัสคำว่า อนาคามี เมื่อจุติจากเนวสัญญาฯแล้ว
แต่ในสูตรนี้ เมื่อละสังโยชน์ ๕ ประการได้แล้ว
เพราะบรรลุสมาธิระดับเนวสัญญา ฯ
เพราะเสพจนคุ้นและมีความพอใจในสมถะ และ วิปัสสนา นี้
เพราะความชอบใจไปในสมาธิชั้นนี้
เมื่อตายไป ไม่เสื่อมจากสมาธิ จึงได้ผลแห่งสมาธิที่บรรลุนี้ไปสู่ เนวสัญญานาสัญญายตนภพ
เป็นอัตภาพที่เกิดเพราะไม่ได้เป็นไปในสัญเจตนาทั้งของตนเอง และ ของผู้อื่น
ไม่ทราบว่า เพราะ มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เหมือนเป็นภพพิเศษ (คือๆกับ สัญญาเวทนยิตนิโรธ)
ผมคาดเดาว่ากรณีนี้ เมื่อเจริญสมาธิระดับ เนวสัญญาฯ
หากบรรลุได้แล้ว ไม่เสื่อม ตายไป จะถูกชักนำไปให้ไปเกิดในภพนี้ก่อนเลย
เพราะความที่เป็นระดับสมาธิพิเศษ(หรือไร) ที่แตกต่างจากรูปสัญญา และ อรูปสัญญา ๓ ระดับ
ผมคิดไปเองว่า จะเกิดจาก ประโยคที่ พระศาสดาตรัสว่า
ไม่ได้เป็นไปในสัญเจตนาทั้งของตนเอง และ ของผู้อื่น เป็นคีย์เวริ์ด หรือไม่
แต่ก็ไม่ทราบเหตุผลว่าหมายถึงอะไร จะเกี่ยวกับ สภาวะที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ของสมาธิระดับ เนวสัญญาฯ หรือไม่
ที่ทรงตรัสในฌานสูตร การบรรลุอาสวะ กระทำได้ทุกระดับที่มีสัญญาของสมาบัติ
หากไม่บรรลุถึงความสิ้นอาสวะ แต่มีความยินดีพอใจในสมถะ และ วิปัสสนา นั้น
พระองค์ทรงตรัสว่า เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป
จะเป็นโอปปาติกะ ปรินิพพาน ณ ภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้น (ตตฺถปรินิพฺพายี อนาวตฺติธมฺโม ตสฺมา โลกา)
(ตั้งแต่รูปสัญญา จนถึง อรูปสัญญา ๓ ระดับแรก ตรัสลักษณะเดียวกันหมด)
เว้นไว้ ๒ อายตนะ คือ เนวสัญญา ฯ กับ สัญญาเวทยิตฯ
หากมีปัญญากำหนดการเข้าออกจากสมาบัติก็จะถึงความสิ้นอาสวะได้
แต่กรณีของพระสูตรนี้ พึงเข้าเนวสัญญาฯได้ แต่ปัญญาในการตรัสรู้ไม่เพียงพอ เพราะน้อมใจไปในสมาธิยินดีพอใจอยู่
จึงไปอุบัติที่นี่ก่อน (ตรัสแตกต่างจากสมาธิ ๗ ระดับแรก) แต่เมื่อจุติจากเนวสัญญาฯ แล้ว
จะตรัสจึงเป็น อนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนั้นอีก(อนาคนฺตาโร อิตฺถตฺตนฺติ)
|
|