- สำคัญ
- 0
- UID
- 3623
- สิทธิ์อ่าน
- 50
- เครดิต
- 572
- โพสต์
- 111
- ลงทะเบียน
- 12-5-2016
- ล่าสุด
- 1-8-2019

- บล็อก
- 0
- สตางค์
- 332
- ความดี
- 125
- ชื่อเสียง
- 2
- ล่าสุด
- 1-8-2019
|
อัครา ตอบกลับเมื่อ 21-9-2016 13:18 
ขอแสดงความเห็นครับ
1.พระสูตร 21หน้า155ข้อ171
พ. ดูกรสารีบ ...
ขอโอกาสนะคะ
พระสูตรนี้แหล่ะค่ะ (เล่ม 21 หน้า 155 ข้อ 171) ที่คุณอัครายกขึ้นแสดง
ที่จะเป็นคำตอบของข้อสงสัยในส่วนที่ว่า ทำไมพระพุทธเจ้าถึงไม่ทรงตรัส อนาคามีคู่กับผู้ที่ละสัญโญชน์เบื้องต่ำ 5
เพราะมีบุคคลบางกลุ่มเป็นเหตุนั่นเอง
ซึ่งบุคคลเหล่านั้น คือ ผู้ที่มีความชอบใจ+ความยินดี+ความปลื้มใจด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น+ความยับยั้งในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น+ความน้อมใจไป+ความอยู่จนคุ้นในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น+ไม่เสื่อมเมื่อกระทำกาละ นั่นเองค่ะ
เพราะทั้งๆ ที่บุคคลเหล่านั้นเป็นอริยะบุคคลผู้ที่สามารถละสัญโญชน์เบื้องต่ำ 5 ได้ก่อนแล้ว (เหตุที่เข้าใจว่าเป็นอริยะ 13/156)
แต่เพราะเหตุที่ดันไม่ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ จึงไม่สามารถพิจารณาขันธ์ทั้ง 5 โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค ฯลฯ เป็นอนัตตาได้
เลยต้องไปเป็นสหายของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพก่อน
รอจนเขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว ถึงจะเป็นอนาคามี ถึงจะเรียกได้ว่าเป็นอนาคามี ซึ่งเป็นผู้ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีกแล้ว
และอีกพระสูตรหนึ่ง ที่มีแง่มุมการเรียกอนาคามีคล้ายๆ กัน คือ ทานสูตร (23/49) ในส่วนของการวางจิตให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต
(เพิ่มเติมข้อสังเกต ใน สักกปัญหสูตร (10/256) ความริษยาและความตระหนี่ มีอารมณ์เป็นที่รักและอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นเหตุ)
ดังนั้น ความเข้าใจ ณ ขณะนี้ จึงพอสรุปได้ว่า
การที่จะเรียกว่าอนาคามีได้หรือไม่นั้น ไม่ได้ดูที่การละสัญโญชน์เบื้องต่ำ 5 เป็นหลัก
แต่ให้ดูว่า ผู้นั้นจักปรินิพพานในภพนั้นเลยไหม และจะต้องเป็นพรหมโลก/โลกนั้นด้วย (ไม่ใช่ผู้ที่จักปรินิพพานในโลกนี้ กามภพในส่วนของสุคติ)
เหล่านี้จึงเป็นคำตอบของข้อสงสัยในส่วนที่ว่า ทำไมพระพุทธเจ้าถึงไม่ทรงตรัส อนาคามีคู่กับผู้ที่ละสัญโญชน์เบื้องต่ำ 5
เพราะถ้าทรงตรัสคู่กัน จะขัดกับพระสูตร (เล่ม 21 หน้า 155 ข้อ 171) นี้ทันที่
ส่วนประเด็นสุทธาวาสทั้ง 5 อันประกอบด้วย อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา
ณ ตอนนี้ยังมีความเห็นเหมือนเดิมนะคะ คือ เป็นภพของผู้ที่ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย สัญโญชน์เบื้องต่ำ 5 สิ้น เป็นอุปปาติกะ และจักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา (14/673-697),(15/152-157),(15/287-292),(21/124),(23/240),(13/157)
(ซึ่งก็เข้าใจได้ว่าเป็นอนาคามีแล้ว เหตุเพราะจักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา แต่ถ้าพระพุทธเจ้าไม่ตรัสเรียกคู่กัน ก็ควรจะปฏิบัติตามนั้นค่ะ เหตุเพราะพระสูตรข้างต้นที่คุณอัครายกขึ้นแสดงแล้ว)
ส่วนประเด็นท่านปุกกุสาติ ว่าทำไมพระผู้มีพระภาคทรงตรัสเรียก ว่า กุลบุตร
ให้ลองดูที่พระสูตร (4/12),(20/527) พอจะเป็นตัวอย่างลักษณะการใช้คำนี้ของพระพุทธเจ้าได้อีกแบบหนึ่งค่ะ
รบกวนช่วยตรวจสอบความด้วยนะคะ
|
ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง
คุณจำเป็นต้องลงชื่อเข้าใช้ก่อน หลังจากนั้นจะสามารถดูและดาวน์โหลดไฟล์แนบได้ หากยังไม่มีบัญชีสมาชิก กรุณาสมัครสมาชิก
|